ภาพพจน์

 

ความหมายของภาพพจน์  
              ภาพพจน์เป็นการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหาร ที่ทำให้ผู้รับสารเกิดมโนภาพ  เกิดจินตนาการ ถ่ายทอดอารมณ์ ทำให้มีความรู้สึกร่วมตรงตามความปรารถนาของผู้ส่งสาร          
     
  ประเภทของภาพพจน์  
  ภาพพจน์ที่ใช้ในการสื่อสารมีอยู่มากมายหลายประเภท ดังนี้  
   1.อุปมา (simile)  
            

คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่งที่โดยธรรมชาติแล้วมีสภาพที่แตกต่างกัน แต่มีลักษณะเด่น ร่วมกันและใช้คำที่มีความหมายว่า เหมือนหรือคล้ายเป็นคำแสดงการเปรียบเทียบเพื่อเน้นให้เห็นจริงว่า เหมือนอย่างไร ในลักษณะใด ได้แก่คำว่า เหมือน เสมือน ดัง ดั่ง คล้าย  ดูราว  เหมือนดั่ง ดุจ ประดุจ ประหนึ่ง ละม้าย เสมอ ปาน เพียง ราว ราวกับ พ่าง  เทียบ เทียม  เฉก เช่น ฯลฯ เป็นการกล่าว การเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกันหรือต่างกันใช้คู่กับ อุปไมย อุปมา คือ สิ่งหรือข้อความที่ยกมากล่าวมาเปรียบ อุปไมย คือ สิ่งหรือข้อความที่พึงเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

 
  ตัวอย่าง เช่น  
 
-สวยเหมือนนางฟ้า -เงียบราวกับป่าช้า
-ร้องไห้ปานใจจะขาด -ชนเหมือนลิง
-ลูกคนนี้ละม้ายพ่อ -ดีใจเหมือนปลากระดี่ได้น้ำ
-เธอว่ายน้ำเก่งเหมือนปลา -เพลงนี้ไพเราะราวกับเพลงจากสวรรค์
-มีความรู้เหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน -ดวงหน้านวลกระจ่างดุจดวงจันทร์
-ผมของเธอดำเหมือนความมืดแห่งราตรี       -เขาตะโกนเสียงดังดั่งฟ้าร้อง
 
     
     
  2. อุปลักษณ์ (metaphor)  
   

            คือการเปรียบเทียบด้วยการกล่าวว่าสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่กล่าวตรง ๆ   ใช้การกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอง เป็นการเปรียบเทียบโดยนำเอาลักษณะ สำคัญของสิ่งที่ต้องการเปรียบเทียบ มาเปรียบเทียบทันทีโดยโดยไม่ต้องมีคำเชื่อมโยง ไม่ต้องใช้คำแสดงการเปรียบเทียบ  ไม่มีคำแสดงความหมายว่า เหมือน ปรากฏอยู่ หรือถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ใช้คำว่า  “เป็น”  หรือ  “คือ”  อุปลักษณ์  เป็นการใช้ถ้อยคำภาษา ในเชิงการเปรียบเทียบที่มีชั้นเชิงและลึกซึ้งกว่าอุปมา   นิยมใช้กับ   ภาษ-หนังสือพิมพ์ เพราะใช้คำน้อย ได้ความมากเหมาะกับเนื้อที่อันจำกัด

 
  ตัวอย่าง เช่น  
 
-ปัญญาคือดาบสู้ดัสกร   -ครู คือแม่พิมพ์ของชาติ
-ชีวิตคือการต่อสู้  ศัตรูคือยากำลัง   -ลูกคือดวงตาดวงใจของพ่อแม่
-ครูเป็นแสงประทีปส่องทางให้ลูกศิษย์  เธอคือดอกฟ้าแต่ฉันนั้นคือหมาวัด      
-อูฐเป็นเรือของทะเลทราย -กีฬาเป็นยาวิเศษ       
-เขาเป็นมือขวาของผู้อำนวยการทีเดียวนะ -เขาเป็นสิงห์ทะเลทราย              
-เหยี่ยวข่าวกำลังบินว่อนอยู่แถวทำเนียบรัฐบาล -ทหารเป็นรั้วของชาติ
-ทองกวาวทิ้งไร่นามาอยู่ป่าคอนกรีต               -ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง
-มโหรีจากราวป่ามาเรื่อยรี่ -เลือดในอกแท้ ๆ ยังทิ้งได้
-ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ     -สวรรค์ในอก นรกในใจ
 
     
  3. บุคลาธิษฐาน (personification)  
        

             คือ  การสมมุติให้สิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด สิ่งที่เป็นนามธรรม หรือสัตว์ให้มีสติปัญญา   อารมณ์หรือกิริยาอาการ เหมือนมนุษย์เพื่อให้สิ่งเหล่านั้นเกิดปรากฏการณ์เสมือนเป็น สิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก นึกคิดขึ้นมา  แล้วสื่อความรู้สึกออกมาให้ผู้รับสารได้รับรู้เป็นการเปรียบเทียบโดยนำเอาสิ่งไม่มีชีวิต หรือมีชีวิต แต่ไม่ใช่คนมากล่าวถึงราว กับเป็นคน  หรือทำกิริยาอาการอย่างคน  “ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้สิ่งที่กล่าวถึง มีชีวิตชีวา ผู้รับสารจะมองเห็นภาพสิ่งนั้นเคลื่อนไหวทำกิริยาอาการเหมือนคนมีอารมณ์ มีความรู้สึก และสามารถสื่อความรู้สึกนั้นมาสู่ผู้รับสารได้” (นภาลัย  สุวรรณธาดา, 2533: 295)

 
  ตัวอย่าง เช่น  
 
  -ฟ้าหัวเราะเยาะข้าชะตาหรือ                                           
-ซุงหลายท่อนนอนร้องไห้ที่ชายป่า 
-ดาวกะพริบตาเยาะเราหรือดาวเอ๋ย                 
-ตั๊กแตนโยงโย่  ผูกโบว์ทัดดอกจำปา
-จานและช้อนวิ่งกันขวักไขว่ไปทั่วห้องครัว     
-พระจันทร์ยิ้มทักทายกับหมู่ดาวบนท้องฟ้า 
-เสียงรถไฟหวีดร้องครวญครางมาแต่ไกล 
-พระจันทร์ยิ้มทักทายกับหมู่ดาวบนท้องฟ้า 
-ต้นอ้อหยอกล้อกับสายลมอย่างสนุกสนาน 
-เปลวไฟกลืนกินบ้านทั้งหลังเข้าไปอย่างหิวโหย
-ทะเลไม่เคยหลับใหล เธอตอบได้ไหม ไฉนจึงตื่น 
-ความซื่อสัตย์ วิ่งพล่านอยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้
 
     
     
  4. อติพจน์ (hyperbole)  
               คือ การกล่าวเกินจริง ซึ่งเป็นความรู้สึกหรือความคิดของผู้กล่าวที่ต้องการย้ำความหมาย ให้ผู้ฟังรู้สึกว่าหนักแน่นจริงจัง   เน้นความรู้สึกให้เด่นชัดและน่าสนใจ โดยไม่เน้นความเป็นจริง เพราะต้องการ ให้ผู้รับ สารเกิดความซาบซึ้งและประทับใจ ซึ่งอาจจะมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ได้  เพื่อเน้นความ รู้สึกมากกว่า ความเป็นเหตุเป็นผล  มุ่งเร้าอารมณ์และความรู้สึกสะเทือนใจเป็นสำคัญ  ภาพพจน์ประเภทนี้นิยม ใช้สื่อสารกันมากทั้งการพูดและการเขียน  ที่ต้องการแสดงความรู้สึกเพราะสามารถเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ง่าย  
  ตัวอย่าง เช่น  
 
-ร้อนตับจะแตก
-คิดถึงใจจะขาด
-ไอ้หมัดทะลวงไส้
-เขาโกรธเธอจนอกระเบิด
-ฉันไม่มีเงินซักแดงเดียว
-ฉันหิวไส้จะขาดแล้วนะ
-อากาศร้อนจนแทบจะสุกอยู่แล้วสายเลือด 
-พวกเราจะสู้จนเลือดหยดสุดท้าย
-หนาวกระดูกจะหลุด 
-แหม รอตั้งโกฏิปีแล้ว
-การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า      
-ลำบากเลือดตาแทบกระเด็น 
-เหนื่อยสายตัวแทบขาด
-แม้จะเอาช้างมาฉุดฉันก็ไม่ไป    
-เธอร้องไห้น้ำตาจะเป็น
– คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก
 
     
     
  5. นามนัย (Metonymy)  
             คือ การเปรียบเทียบโดยการใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่น หรือลักษณะสำคัญ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  หรือการกล่าวถึงส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ  มากล่าวแทนคำที่ใช้เรียก สิ่งนั้นโดยตรง เป็นภาพพจน์ที่ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำธรรมดา ๆ ซ้ำซาก  
  ตัวอย่าง เช่น  
    –ปากกาคมกว่าดาบ 
  -เขาเป็นกระต่ายที่หมายจันทร์
    (กระต่ายแทนชายหนุ่มฐานะต่ำต้อยจันทร์แทนผู้หญิงที่มีฐานะสูงส่ง)
   -เขาเป็นมือขวาของท่านนายกฯ (มือขวาแทนคนสนิทที่ไว้ใจ) 
   -เขารักเก้าอี้ยิ่งกว่าชื่อเสียงเกียรติยศ (เก้าอี้แทนตำแหน่ง) 
   -คนเราจะต้องต่อสู้ตั้งอยู่ในเปลจนไปสู่ป่าช้า (เปล แทนการเกิด, ป่าช้า แทนการตาย) 
   –น้ำตา และรอยยิ้มอยู่คู่ชีวิตมนุษย์เสมอมา (น้ำตาแทนความทุกข์, รอยยิ้มแทนความสุข) 
   –เลือดของวีรชนจะจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ตลอดไป (เลือด แทนการต่อสู้) 
   -คนไทยไม่ยอมให้ใครมาทำลายขวานทองได้ (ขวานทองแทนประเทศไทย)
   -การจัดสรรงบประมาณควรให้ได้ไปสู่ระดับรากหญ้าจริง ๆ (รากหญ้าแทนประชาชนระดับล่าง)
 
     
     
  6. อนุนามมัย (Synecdoche)  
         คือ การกล่าวถึงส่วนย่อยที่มีลักษณะเด่นของสิ่งนั้น ๆ มากล่าวแทนสิ่งที่ต้องการกล่าวถึงทั้งหมด   เป็นการเปรียบเทียบโดยนำเอาลักษณะเด่นที่เป็นส่วนหนึ่งมากล่าวแทนทั้งหมด  
  ตัวอย่าง เช่น  
    

    -เขากินหมาก (หมาก หมายถึง หมากพลู ปูน และส่วนผสมอื่น ๆ) 
   -เรื่องนี้ได้กลิ่นตุ ๆ ว่า คนมีสีอยู่เบื้องหลัง (คนมีสี หมายถึง ข้าราชการ) 
  -มันสมองเหล่านี้มีค่าแก่ประเทศชาติอย่างยิ่ง (มันสมอง หมายถึง ปัญญาชน)        
   -มีการเรียกร้องให้เพิ่มค่าแรงให้ฉันทนา (ฉันทนา หมายถึง สาวโรงงาน) 
   -เขามีหน้ามีตาในสังคมได้เพราะมีผู้มีอำนาจให้การสนับสนุน(มีหน้ามีตา หมายถึง มีเกียรติ)   
  -มือกฎหมาย
 ปฏิบัติการอย่างไม่เกรงกลัวอิทธิพลใด ๆ(มือกฎหมายหมายถึง ผู้รักษากฎหมาย)
   –มือที่เปื้อนชอล์คยังคงมุ่งมั่นที่จะสานฝันให้เป็นจริง (มือที่เปื้อนชอล์ค หมายถึง ครู)
 
     
  7.ปฏิพจน์ (paradox)  
                คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าวร่วมกันได้อย่างกลมกลืนกัน ภาพพจน์ประเภทนี้ผู้รับสารจะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ความหมาย หรือ ตีความจึงจะเข้าใจได้ดี  
  ตัวอย่าง เช่น  
 
ไฟเย็น เล็กดีรสโต
ชัยชนะของผู้แพ้ สันติภาพร้อน
ยิ่งรีบก็ยิ่งช้า หัวเราะร่าน้ำตาริน
-ความขมขื่นอันหวานชื่น -ไม้งามกระรอกเจาะ
-รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ -รักดีหามจั่ว รักชั่วเสา
-น้าร้อนปลาเป็นน้ำเย็นปลาตาย -แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร
-เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน
-น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย -ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด          
เสียงกระซิบจากความเงียบ -ชีวิตเต็มไปด้วยความว่างเปล่า
 
     
  8. สัทพจน์ (onomatopoeia)  
              คือ การใช้ถ้อยคำที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรีเสียงร้องของสัตว์  หรือเลียนเสียงกิริยาอาการต่าง ๆ ของคน การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน จะช่วยสื่อให้ผู้รับสารรู้สึกเหมือนได้ยินเสียง โดยธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ และเห็นกิริยาอาการของสิ่งนั้น ๆ ด้วย  
  ตัวอย่าง เช่น  
 
-ฝนตกแปะ ๆ        เปรี้ยง ๆ ดังเสียงฟ้าฟาด
-ไผ่ซออ้อเอียดเบียดออด                   -บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว
– เครื่องบินครางกระหึ่มมาแต่ไกล – เสียงคลื่นซ่าซัดสาดที่หาดทราย
-เสียงปืนดัง ปัง! ปัง! ขึ้นสองนัด     -ยุงบินหึ่งหึง อยู่ข้างหูน่ารำคาญ
อ้อยอี๋เอียง อ้อยอี๋เอียงส่งเสียงร้อง                 -เจ๊กเฮงเดินลากเกี๊ยะแซะ ๆ ไปตลอดทาง
-ลมพัดกิ่งไม้ระหลังคาบ้านดังแกรกกรากน่ากลัว -มันดังจอกโครม ๆ มันดัง จอก ๆ จอก ๆ โครม ๆ
-มันร้องดังกระโต้งโฮง มันดังกอก ๆ กอก ๆ กระโต้งโฮง -น้ำพุพุ่งซ่า ไหลมาฉาดฉาน เห็นตระการ เสียกังวาน
เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย  กระหึ่มโหยห้อยไม้น่าใจหาย
 
     
  9. ปฏิวาทะ (oxymoron)  
            คือ การใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามกันหรือขัดแย้งกันมารวมไว้ด้วยกันเพื่อให้มีความหมาย ใหม่ หรือให้ความรู้สึก ขัดแย้งกัน หรือเพิ่มน้ำหนักให้แก่ความหมายของคำแรก  
  ตัวอย่าง เช่น  
 
-คนในหมู่บ้านนี้กลมเกลียวกันมาก (หมายถึง ความสามัคคี)   
-แฟนของนายน่าอกใหญ่ฉิบหาย (หมายถึง หน้าอกใหญ่มาก) 
-ลูกสาวของเขาช่างน่ารักน่าชัง (หมายถึง น่ารักน่าเอ็นดู) 
-เดชทำคะแนนได้น้อยมาก (หมายถึง น้อยเหลือเกิน) 
-เธอกำลังหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อยู่ (หมายถึง ข้อมูลที่เป็นจริง)
-คู่หมั้นของหล่อนดีเป็นบ้า (หมายถึง ดีมาก) 
-แกแต่งตัวเท่ห์ฉิบหาย (หมายถึง เท่ห์มาก) 
-เขาไม่เคยยินดียินร้ายฉันเลย (หมายถึง เอาใจใส่) 
-บ้านหลังนี้ข้าหลับตาเห็นหมดแล้วว่าอะไรอยู่ตรงไหนเข้าไปได้เลย (หมายถึง จินตนาการ)
 
     
  10.  สัญลักษณ์ (symbol)  
          

          คือ การเปรียบเทียบที่เรียกสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยใช้คำอื่นแทน คำที่ใช้เรียกนั้นเกิดจากการเปรียบเทียบและ ตีความซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป  อาจเป็นคำ ๆ เดียว  ข้อความ  บุคคลในเรื่อง  เป็นเรื่อง เฉพาะตอน  หรือเรื่อง ๆ หนึ่งก็ได้   สัญลักษณ์ที่นิยมใช้มีดังนี้ 

 
  ตัวอย่าง เช่น  
 
-สีขาว   

หมายถึง

ความบริสุทธิ์
-สีดำ      

หมายถึง

ความตาย  ความโศกเศร้า  ความชั่วร้าย
-ดอกกุหลาบสีแดง

หมายถึง

ความรัก
-ดอกหญ้า

หมายถึง

ความต้อยต่ำ
-ดอกมะลิ

หมายถึง

ความบริสุทธิ์
-ดอกบัว

หมายถึง

พุทธศาสนา
-ดอกทานตะวัน  

หมายถึง

ความอบอุ่น ความรักและความสุข
-รวงข้าว

หมายถึง

ความอ่อนน้อมถ่อมตน
-หญ้าแพรก         

หมายถึง

ความงอกงามทางสติปัญญาและความรู้
-น้ำค้าง

หมายถึง

ความบริสุทธิ์
-สุนัขจิ้งจอก        

หมายถึง

คนเจ้าเล่ห์  คนที่ไม่น่าไว้วางใจ
-ลา         

หมายถึง

คนโง่  คนที่น่าสงสาร 
-ปีศาจ  แม่มด       

หมายถึง

ความชั่วร้าย
-นางฟ้า เทวดา    

หมายถึง

ความดีงาม
-นกขมิ้น

หมายถึง

ผู้ที่ร่อนเร่พเนจร
-ผึ้ง  มด 

หมายถึง

ความขยันอดทน
-เมฆ  หมอก

หมายถึง

อุปสรรค  ความเศร้า
-ฝน

หมายถึง

ความเมตตากรุณา  ความชุ่มฉ่ำสดชื่น
-ระฆัง

หมายถึง

ความมีเกียรติ  ความมีชื่อเสียง
-สมอ

หมายถึง

ทหารเรือ
-ตราชู   

หมายถึง

ความยุติธรรม
-มือไกวเปล

หมายถึง

แม่
 
     

 

 

 

Posted on 04/09/2012, in Uncategorized. Bookmark the permalink. ใส่ความเห็น.

ใส่ความเห็น